Combustion Requirements





































Stoichiometry
ปัจจัยในการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ (Factors of complete combustion)
ชนิดของเปลวไฟ (Classification of Flames)

เป็นเปลวไฟที่เกิดจากการเผาไหม้โดยได้รับอากาศจากบรรยากาศ โดยรอบของเปลวไฟ โดยกระบวนการแทรกซึมและแพร่กระจายของอากาศเข้าไปในเปลวไฟ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "Diffusion Flames"



เป็นเปลวไฟที่เกิดจากการเผาไหม้ โดยกำหนดปริมาณ ของอากาศประมาณครึ่งหนึ่งของปริมาณอากาศที่จำเป็นในการเผาไหม้ ทั้งนี้ อากาศปริมาณครึ่งหนึ่ง จะถูกผสมกับเชื้อเพลิงก่อนการสันดาป (เรียกอากาศชุดนี้ว่า "Primary Air") เปลวไฟลักษณะนี้ จะมีโครงสร้างเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นรูปกรวยภายใน (Inner cone) และชั้นนอก (Outer cone) ในช่วง Preheat ส่วนผสมของก๊าซ และอากาศจะถูกเผาไหม้ได้อุณหภูมิสูงถึง 700 K ถึง 1000 K ช่วง Primary เป็นส่วนของปฏิกิริยาทางเคมีของส่วนผสม (ก๊าซและอากาศ) ซึ่งอุณหภูมิจะสูงได้ถึงกว่า 2000 K




เปลวไฟชนิดนี้จะไม่มีส่วนของ Outer Mantle ของเปลวไฟ (Secondary Combustion Zone) เนื่องจากปริมาณอากาศที่จำเป็นต้องใช้ในการเผาไหม้ ทั้งหมดได้ถูกผสมเข้ากับเชื้อเพลิงก่อนสันดาปแล้ว และไม่จำเป็นต้องอาศัยอากาศโดยรอบเปลวไฟ



      เปลวไฟชนิดนี้จะไม่มีส่วนของ Outer Mantle ของเปลวไฟ (Secondary Combustion Zone) เนื่องจากปริมาณอากาศที่จำเป็นต้องใช้ในการเผาไหม้ ทั้งหมดได้ถูกผสมเข้ากับเชื้อเพลิงก่อนสันดาปแล้ว และไม่จำเป็นต้องอาศัยอากาศโดยรอบเปลวไฟ





ค่าความร้อน (Calorific Value, CV)
Reference conditions Calorific value
Metric Standard Conditions 37.71 MJ/m3 (gross)
34.00 MJ/m3 (net)
NTP 0° C
760mm Hg
39.78MJ/m3 (gross)
Imperial 60° F
30° Hg
1010Btu/ft3 (gross)
ความหมายของ Gross CV และ Net CV
หัวเผา (Burner)

ข้อดีและข้อเสียของหัวเผาแบบใช้ความดันน้ำมัน เป็นดังนี้
  • โครงสร้างเรียบง่ายและราคาถูก
  • มีหลายขนาดให้เลือกเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน
  • สามารถปรับรูปร่างของเปลวไฟได้
  • ให้ค่าสัดส่วน Turndown ต่ำ (อัตราส่วนของการสิ้นเปลืองน้ำมันสูงสุดกับต่ำสุด) ดังนั้นถ้าจะให้ภาระการสันดาปเปลี่ยนแปลงได้ในช่วงกว้าง จำเป็นต้องเพิ่มจำนวน Atomizer ให้มากขึ้น
  • ทำงานในลักษณะ On - off เท่านั้นและให้งานในสภาวะภาระทางความร้อนไม่เปลี่ยนแปลง
  • ใช้ปั้มน้ำมันความดันสูง และต้องการอุณหภูมิในการอุ่นน้ำมันที่สูง
  • น้ำมันที่สกปรกจะทำให้หัวเผาอุดตันจึงต้องมีการกรองน้ำมันอย่างละเอียด
  • เกิดความเสียหายได้ง่ายระหว่างทำความสะอาด

ข้อดีและข้อเสียของหัวเผาแบบพ่นฝอยโดยใช้น้ำหรืออากาศ เป็นดังนี้
  • มีโครงสร้างแข็งแรง
  • ให้ค่าสัดส่วน Turndown สูง คือ 4:1
  • ใช้น้ำมันความดันต่ำ
  • ให้ขนาดของ Vroplet เล็กกว่า
  • ให้การผสม (Mixing) ระหว่าง Droplet กับอากาศดีกว่า
  • ตอบสนองต่อภาระทางความร้อน (Thermal load) ได้เร็วกว่า
  • ในกรณีซึ่งของไหลที่ทำให้เกิดการแตกตัวของน้ำมันเป็นไอน้ำจะสามารถช่วยลดการก่อตัวของคาร์บอนลงได้ โดยประสิทธิภาพของการเผาไหม้เกือบจะไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อใช้ปริมาณของไอน้ำต่ำกว่า 9% ของอากาศที่ใช้ในการเผาไหม้
  • ค่าใช้จ่ายแพงเนื้องจากมีการใช้พลังงานเพื่ออัดอากาศหรือไอน้ำ



ข้อดีและข้อเสียของหัวเผาแบบใช้แรงเหวี่ยงของถ้วยหมุน เป็นดังนี้
  • มีความเชื่อถือได้สูง ใช้งานได้สะดวก
  • สามารถใช้ได้กับอัตราการป้อนน้ำมันซึ่งไม่คงที่ได้ โดยสามารถให้ละอองน้ำมันที่ละเอียดสม่ำเสมอกันตลอดช่วงอัตราป้อนน้ำมันที่เปลี่ยนแปลงไป
  • สามารถปรับอัตราการป้อนน้ำมันได้สูง หรือให้ค่าสัดส่วน Turn-down สูงคือ 10:1 โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มจำนวนหัวเผา
  • ไม่มีปัญหาเรื่องอุดตันของน้ำมันเพราะท่อทางการไหลในตัวหัวเผามีขนาดใหญ่
  • ความดันป้อนของน้ำมันเชื้อเพลิงต่ำ ง่ายต่อการทำงาน
  • สามารถควบคุมขนาดของหยดเชื้อเพลิง (Oil droplet)ได้ง่าย เพียงแต่ควบคุมความเร็วรอบของถ้วยหมุน เพราะขนาดเฉลี่ยของหยดเชื้อเพลิงเป็นสัดส่วนผกผันกับความเร็วรอบของการหมุนของถ้วย
  • การบำรุงรักษาซับซ้อนยุ่งยากและราคาแพง
  • ต้องใช้ไฟฟ้าเพื่อหมุนถ้วย
  • การสึกหรอมักเกิดที่ขอบถ้วย ทำให้น้ำมันแตกเป็นฝอยละเอียดไม่สม่ำเสมอ
  • อาจเกิดตะกอนน้ำมันสะสมภายในถ้วยจึงจำเป็นต้องถอดออกทำความสะอาดบ่อยๆ

หัวเผาลักษณะนี้จะมีห้องผสมเชื้อเพลิงก๊าซให้เข้ากันกับอากาศก่อนที่จะป้อนเข้าสู่ห้องเผาไหม้หรือหัวเผา ลักษณะดังรูป



หัวเผาลักษณะนี้จะไม่มีห้องผสมเชื้อเพลิงก๊าซให้เข้ากันกับอากาศ แต่จะเป็นการป้อนเชื้อเพลิงก๊าซและอากาศเข้าพร้อมกันที่บริเวณด้านหน้าหัวเผา ดังนั้นเชื้อเพลิงและอากาศจะผสมกันและเกิดการสันดาปขึ้นบริเวณหน้าหัวเผา



Co-generation

  • Typical Co-generation System
  • Direct Heating System
  • Combined Cycle System
  • Heating & Cooling System

Typical Co-generation System

ระบบแบบ Typical Co-generation คือ ระบบที่นำก๊าซธรรมชาติมาผลิตไฟฟ้าส่วนไอเสียจาก Gas Turbine ที่มีอุณหภูมิสูงจะถูกนำไปแลกเปลี่ยนความร้อนให้กับน้ำเพื่อผลิตเป็นไอน้ำไปใช้งานต่อไปโดยทั่วไประบบนี้จะมี Thermal Efficiency ประมาณ 80%

Direct Heating System

ระบบแบบ Direct Heating System คือ ระบบที่นำก๊าซธรรมชาติมาผลิตไฟฟ้าส่วนไอเสียจาก Gas Turbine ที่มีอุณหภูมิสูงจะถูกนำไปใช้ในกระบวนการไล่ความชื้น เช่น Spray Dryer เป็นต้น ซึ่งระบบนี้จะมี Thermal Efficiency ที่สูงกว่าระบบแบบ Typical Co-generation

Combined Cycle System

ระบบแบบ Combined Cycle system คือ ระบบที่นำก๊าซธรรมชาติมาผลิตไฟฟ้าส่วนไอเสียจาก Gas Turbine ที่มีอุณหภูมิสูงจะถูกนำไปแลกเปลี่ยนความร้อนให้กับน้ำเพื่อผลิตเป็นไอน้ำบางส่วนไปใช้ในกระบวนการผลิตได้ด้วย ระบบนี้อาจมี Thermal Efficiency สูงถึง 48%

Heating & Cooling System

ระบบแบบ Heating & Cooling System คือ ระบบที่นำก๊าซธรรมชาติมาผลิตไฟฟ้าส่วนไอเสียจาก Gas Turbine ที่มีอุณหภูมิสูงจะถูกนำไปแลกเปลี่ยนความร้อนให้กับน้ำเพื่อไปใช้กับ Heat Exchanger หรือ Steam Absorption Chiller (S.A.C) เพื่อผลิตน้ำร้อนและน้ำเย็น โดยมากระบบนี้จะถูกใช้กับสถานที่ที่มีระบบทำความร้อนหรือความเย็นให้กับอาคาร

item 5

สนับสนุนการดำเนินการจัดการพลังงานในโรงงาน ทั้งด้านพลังงานไฟฟ้า และความร้อน ให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติ การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ฉบับที่2) พ.ศ. 2550 เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ผู้ปฏิบัติงานในโรงงานควบคุม หรืออาคารควบคุม ได้เข้าใจเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน และสามารถ ดำเนินมาตรฐานการอนุรักษ์พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

  • ขนาดของระบบ
  • อัตราส่วนระหว่างความร้อนต่อไฟฟ้าที่โรงงานต้องการ (Heat to Power Ratio)
  • ลักษณะการนำพลังงานความร้อนไปใช้
  • ลักษณะของการใช้พลังงานไฟฟ้าและความร้อนในแต่ล่ะวัน (IndDAL.Load Profile)
  • สามารถวางท่อก๊าซธรรมชาติไปยังสถานที่ตั้งโรงงานได้
  • โรงงานต้องการความแน่นอนมีเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า (Reliability) อย่างมาก
  • โรงงานมีโครงการในการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลง/ติดตั้งระบบ Boiler, Chiller, Cooling System
  • ความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์ ความเป็นไปได้ในการขายไฟฟ้าคืนเข้าสู่ระบบให้กับไฟฟ้า
  • มีความต้องการใช้ทั้งพลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อนหรือความเย็นอย่างต่อเนื่องและค่อนข้างแน่นอน
  • มีค่าต้นทุนพลังงานไฟฟ้ามากกว่าพลังงานความร้อน
  • มีชั่วโมงในการทำงานต่อปีมากและต่อเนื่องโดยตลอด
  • ทั้งนี้ผู้ที่ต้องการติดตั้งระบบ Co-generation ควรคำนึงถึงความพร้อมของบุคลากรในการใช้งานรวมทั้งบำรุงรักษาระบบด้วย