ก๊าซธรรมชาติมีก๊าซหลายอย่างประกอบเข้าด้วยกัน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า มีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน ฯลฯ แต่โดยทั่วไปจะประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 70 ขึ้นไป ก๊าซพวกนี้เป็นสารไฮโดรคาร์บอนทั้งสิ้น เมื่อจะนำมาใช้ ต้องแยกก๊าซออกจากกันเสียก่อน จึงจะใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ นอกจากสารไฮโดรคาร์บอนแล้ว ก๊าซธรรมชาติยังอาจประกอบด้วยก๊าซอื่นๆที่ไม่ใช้ไฮโดรคาร์บอน อาทิ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ก๊าซไนโตรเจน และน้ำ เป็นต้น สารประกอบเหล่านี้สามารถแยกออกจากกันได้ โดยนำมาผ่านกระบวนการแยกที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติ ก๊าซที่ได้แต่ละตัวนำไปใช้ประโยชน์ต่อเนื่องได้อีกมากมาย Methane (CH4), Ethane (C2H6), Propane (C3H8), Butane (C4H10), Pentane (C5H12), Hexane (C6H14) และ Non-Hydrocarbon อื่น เช่น CO2, N2, H2O, H2S เป็นต้น
หมายถึง ก๊าซธรรมชาติที่มีส่วนประกอบของ ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ อยู่น้อยมากหรือไม่มีเลย
หมายถึง ก๊าซธรรมชาติที่มีส่วนประกอบของก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์อยู่มาก โดยทั่วไปก๊าซธรรมชาติถือว่าเป็นก๊าซเปรี้ยวถ้ามีส่วนประกอบของก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ มากกว่า 5.7 มิลลิกรัม ต่อลูกบาศก์เมตรของก๊าซธรรมชาติซึ่งเทียบเท่ากับประมาณ 4 ppm โดยปริมาตรภายใต้อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน อย่างไรก็ตามเกณฑ์นี้แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ รัฐหรือแม้กระทั่งหน่วยงาน
หมายถึง ก๊าซธรรมชาติที่มีองค์ประกอบหลักเป็นก๊าซมีเทนและก๊าซอีเทน ซึ่งมีสถานะเป็นก๊าซที่มีอุณหภูมิและความดันปกติ โดยมี โพรเพน, บิวเทน และไฮโดรคาร์บอนเหลวน้อยกว่า 0.1 แกลลอนต่อก๊าซธรรมชาติ1,000 ลูกบาศก์ฟุต ( น้อยกว่า 4%) โดยสามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว (Liquefied Natural Gas; LNG) เพื่อบรรจุถังและขนส่งไปจำหน่ายต่างประเทศได้ และสามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเมธานอล ปุ๋ย ไนโตรเจน แอมโมเนีย และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีต่างๆ ใช้แทนน้ำมันเตาในการผลิตกระแสไฟฟ้าและใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
หมายถึง ก๊าซธรรมชาติที่มีองค์ประกอบหลักเป็นพวกก๊าซธรรมชาติเหลว โดยมี โพรเพน, บิวเทน และไฮโดรคาร์บอนเหลวมากกว่า 0.1197 แกลลอนต่อก๊าซธรรมชาติ1,000 ลูกบาศก์ฟุต (ตั้งแต่ 4-8 % ขึ้นไป) ใช้เป็นวัตถุดิบผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas; LPG) หรือก๊าซหุงต้ม ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหุงต้มในครัวเรือน ขับเคลื่อนรถยนต์ ใช้กับระบบตู้เย็นและเครื่องทำความเย็น ใช้เป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานกลั่นน้ำในดิบบางส่วน และใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมชนิดต่างๆ
หรือก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ คือ รูปแบบของการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง สำหรับยานยนต์ ส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทน เมื่อขนส่งก๊าซธรรมชาติมาทางท่อ จะส่งเข้าสถานีบริการ และเครื่องเพิ่มความดันก๊าซ ณ สถานีบริการจะรับก๊าซธรรมชาติที่มีความดันต่ำ จากระบบท่อมาอัดเพิ่มความดันประมาณ 3,000-3,600 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว จากนั้น ก็จะสามารถเติมใส่ถังเก็บก๊าซฯ ของรถยนต์ต่อไป สำหรับสถานีบริการฝั่งตะวันออก จะมีการเติมก๊าซ CO2 ลงไป เพื่อไม่ให้ความร้อนสูงเกินมาตรฐานของไทย (37-42 MJ/m3) และเพื่อให้คุณภาพของก๊าซของฝั่งตะวันตกและตะวันออกไม่มีความแตกต่างกัน
หรือก๊าซธรรมชาติเหลว ในการขนส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิตไปยังบริเวณที่ใช้ ปกติจะขนส่งโดยระบบท่อ แต่ในกรณีที่ระยะทางระหว่างแหล่งผลิต กับบริเวณที่ใช้มีระยะทางไกลเกินกว่า 2,000 กิโลเมตร การวางท่อส่งก๊าซฯ จะต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมาก จึงมีการขนส่งด้วยเรือที่ถูกออกแบบไว้เฉพาะ โดยการทำก๊าซธรรมชาติ ให้กลายสภาพเป็นของเหลว เพื่อให้ปริมาตรลดลงประมาณ 600 เท่า โดยทั่วไปจะมีอุณหภูมิ -160 องศาเซลเซียส ซึ่งจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการขนส่ง ด้วยระบบท่อ